4.3 ด้านพฤติกรรรม พบว่าผู้เข้ารับการพัฒนามีพฤติกรรมการวิจัยในชั้นเรียน หลังเข้ารับการพัฒนาสูงกว่าก่อนเข้ารับการพัฒนาอย่างมีระดับนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับผลการวิจัยของ ฐิติวรรณ สินธุ์นอก (2552, หน้า 141) ; ธมนพัชร์ สิมากร (2553, หน้า 168) ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นกระบวนการพัฒนาสมรรถนะเป็นการน าความรู้ ทักษะและเจตคติของผู้เข้ารับการพัฒนาไปปฏิบัติการสอนจริงในสถานศึกษาที่ตนเองปฏิบัติงานอยู่ (on the job training) โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากหลายแหล่งเพื่อให้เกิดความเชื่อถือประกอบด้วย หัวหน้าสถานศึกษา ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้เข้ารับการพัฒนาและเพื่อนครูในสาขาเดียวกัน