มีกรอบกระจก คือ กรอบพิมพ์พระ ๒ ชั้น ชั้นในเป็นซุ้มโค้งชั้นนอกเป็นกรอบรูปสี่เหลี่ยมคล้ายกระจก๒. มุมทั้งสี่ด้านมีลักษณะมนลบเหลี่ยมไม่แหลมคม๓. เป็นพระประทับนั่งปางทุกรกิริยา อกร่อง หูยาน (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หูบานศรี”) พระเกศแหลม๔. ฐานรององค์พระเป็นเส้นเล็ก ๆ ซ้อนกัน ๗ ชั้น หรือ ๖ ชั้น หรือ ๕ ชั้น ๙ ชั้นก็มี๕. ด้านหลังพระมีทั้งแบบที่เป็นลายมือประทับติดผิวและแบบไม่ติดลายใด ๆ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตารามเป็นผู้สร้างจุดประสงค์ในการสร้าง เป็นไปตามคติโบราณ กล่าวคือ พระเถระ แต่กาลก่อนมักสร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ ในปูชนียสถาน เพื่อเป็นการ สืบทอดศาสนา โดยมีจุดมุ่งหมายว่า สืบต่อไปข้างหน้าช้านาน ถึงพระเจดีย์วิหาร จะสูญไปใครขุดพบ พระพิมพ์ ก็จะได้เห็นพระพุทธรูปและได้ทราบว่าเคยมีพระพุทธเจ้า เป็นการน้อมนำให้ระลึกถึง เพื่อบูชาเจริญพุทธานุสสติต่อไปกล่าวกันว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์สร้างพระปลุกเสกวันละ ๓ ครั้งมิได้ขาด และนำไปแจก ชาววัง เมื่อไปบิณฑบาต รวมทั้งผู้ที่ต้องการทุกคน วัตถุที่ใช้สร้างพระ คือ ผงดินสอ (ที่ได้จากการเรียนมูลกัจจายน์) ดินสอเหลือง ปูนขาว เกสรดอกไม้ เปลือกกล้วยหอม เปลือกกล้อยน้ำ ชานหมาก ใบลานเผา อาหารสำรวม และน้ำมันตั้งอิ๊ว ส่วนแม่พิมพ์นั้นมีผู้ทำถวายให้ เป็นหินมีดโกนบ้าง หินอ่อนบ้าง ไม้แก่นบ้าง เมื่อสร้างได้ ๑๐๐ องค์ ก็ทำพระชนิดหลังเบี้ยขนาดเท่านิ้วก้อยองค์หนึ่ง เรียกว่า “พระคะแนนร้อย” เมื่อทำได้ ๑๐๐๐ องค์ ก็ทำพระขนาดใหญ่องค์หนึ่งกว้างราว ๔.๒ เซนติเมตร ยาว ๖.๑ เซนติเมตร เรียกว่า “พระคะแนนพัน” ครั้งถึงวันฤกษ์งามยามดีก็ให้รวบรวมพระสมเด็จไปบรรจะไว้ในพระเจดีย์ต่าง ๆ ได้แก่ วัดศรีสุดาราม วัดตะไกร วัดระฆังโฆสิตาราม วัดไชโยวรวิหาร ฯลฯ พระสมเด็จที่บรรจุภายในพระเจดีย์ที่วัดระฆังโฆสิตารามเป็นพระฐาน ๓ ชั้น ชนิดปรกโพธิ์ ปรกเมล็ดโพธิ์ เศียรบาตร ส่วนที่นำมาบรรจุที่ วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง นั้น ส่วนมากเป็นพระพิมพ์ ๗ ชั้น